วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน Windows7


1.การเตรียมตัวก่อนเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
        เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายกันท้องตลาดส่วนใหญ่จะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น คุณสมบัติของเครื่อง อย่างน้อยควรเป็น Pentium II ขึ้นไป มีหน่วยความจำไม่ต่ำหว่า 64 Mb
2. โมเด็ม (Modem)
        โมเด็มเป็นอุปกรณ์ในการส่งข้อมูลโดยแปลงสัญญาณ ดิจิตอลพอร์ตอนุกรมเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งออกไปตามสายตัวโทรศัพท์และเมื่อถึงโมเด็มปลายทาง ตัวโมเด็มก็จะ แปลงสัญญาณอนาล็อกกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้ง โมเด็มมีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ คือ
                2.1 โมเด็มภายนอก (External Modem)  เป็นโมเด็มที่ติดตั้งอยู่ภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งง่าย การทำงานจะมีประสิทธิภาพดี ข้อเสีย คือ มีราคาแพง ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งพอร์ต Com 1 และพอร์ต Com 2


                2.2 โมเด็มภายใน (Internal Medem) เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นการ์ด ข้อดี มีราคาถูก แต่ติดตั้งลำบาก และมีประสิทธิภาพการใช้งานต่ำกว่าโมเด็มภายนอก มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเหมือนกับการ์ด ทั่วๆไปเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์พอสมควร เพราะโมเด็มประเภทนี้จะติดตั้งยากและ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โมเด็มที่ใช้งานควรมีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ดังนี้
        1. ความเร็วไม่น้อยกว่า 56 Kbps
        2. อย่างน้อยต้อง ใช้กับ Protocol v.90
        3. รับ-ส่ง Fax 14.4 Kbps ตามมาตรฐาน v.7 ขึ้นไป
        4. มีมาตรฐานของ v.42 (Correction) และ v.42 bis (Compression)

3. คู่สายโทรศัพท์
         ต้องใช้คู่สายโทรศัพท์ 1 หมายเลขที่ใช้ปกติอยตามบ้านหรือจะเช่าคู่สายโทรศัพท์สำหรับ เชื่อมต่อสัญญาณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP เพิ่มก็ได้ เพราะจะได้แยกการใช้โทรศัพท์ธรรมดากับโทรศัพท์ที่ใช้กับเครื่องต่ออินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามคู่สาย โทรศัพท์ยังมีการให้เลือกใช้อีกหลายระดับซึ่งสามารถเช่าคู่สายเฉพาะที่จะใช้ต่อเชื่อมสำหรับระบบ คอมพิวเตอร์ เช่น สายต่อลีดส์ลาย (Leased Line) สายจากระบบ Data Net และสายแบบ ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นต้น แต่การใช้คู่สายพิเศษดังกล่าวจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ใน ระดับองค์กรมากกว่าผู้ใช้ทั่วไป

4. ซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานบนอินเทอร์เน็ต
             หมายถึงโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Internet Explorer, ICQ เป็นต้น
5. Internet
Account
        Internet Account คือ บัญชีผู้ใช้ที่แต่ละแห่งอนุญาตให้เจ้าของบัญชีมีสิทธิในการใช้บริการต่างๆ ถ้าเป็นบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต จะหมายถึง ผู้ใช้คนนั้นจะมีชื่อในการล็อกอิน (Login Name, User Name) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าไปใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้นเสียก่อน ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP มีอยู่หลายราย แต่ละรายก็มีความเร็วในการใช้งานแตกต่างกันออกไป รวมทั้งราคาค่าบริการการใช้งานก็แตกต่างกันไปด้วยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้นั้น เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีอยู่ในเขตจังหวัดนั้นเสียก่อน ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตก็อยู่ด้วยกันหลายราย แต่ละรายก็มีความเร็วในการใช้งานแตกต่างกันไป รวมทั้งราคาการใช้งานก็จะแตกต่างกันเช่นกัน การคิดราคาการใช้งานนั้น โดยส่วนใหญ่จะคิดเป็นรายชั่วโมง ประมาณชั่วโมงละ 15 ถึง 50 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการใช้งาน

2.การติดตั้งโมเด็ม
 1.เข้าไปที่ Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ Modem



2. คลิกที่ปุ่ม Add… เพื่อติดตั้งโมเด็มเข้ามา
3. หน้าจอนี้จะถามว่าจะให้ค้นหาโมเด็มโดยอัตโนมัติหรือไม่ถ้าไม่ทราบรุ่นของโมเด็มก็ให้เลือกค้นหาอัตโนมัติ ถ้าทราบก็ไม่จำเป็น จากนั้นกด Next 

4.  เลือกยี่ห้อและรุ่นของโมเด็มให้ตรงกับที่ใช้งานอยู่ หรือกดที่ Have Disk… เพื่อติดตั้งจากแผ่น Driver ที่ให้มากับโมเด็ม แล้วกด Next 

5. เลือก COM Port ที่ต่อกับโมเด็ม แล้วกด Next 

6.  กด Finish เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้งโมเด็ม 

7.  คลิกที่แถบ Diagnostics แล้วเลือก COM Port ที่ต่อกับโมเด็มแล้วกด More Info...… คอมพิวเตอร์จะทำการติดต่อกับโมเด็ม 

8.  ถ้าไม่สามารถติดต่อได้จะปรากฏหน้าจอดังรูป 
การตรวจสอบในเบื้องต้น ให้ตรวจสอบสายสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์กับโมเด็มว่าต่อดีหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้ให้สอบถามกับบริษัทที่ซื้อโมเด็มมา
 9.  ถ้าหน้าจอปรากฏดังรูปข้างล่างนี้ แสดงว่าคอมพิวเตอร์กับโมเด็มสามารถติดต่อกันได้ 



2.1         โมเด็ม 56 K
Dial-Up Modem (56K Dial-UP)

เป็นโมเด็มแบบอนาล็อคที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์แบบธรรดา เวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เร็ต (ISP) ด้วย มาตราฐานล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ V.92 ซึ่งให้ Bit Rate หรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56/33.6 Kbps (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ต หรือ Download ที่ความเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูล ขาขึ้น Upload ที่ความเร็ว 33.6 Kbps)
2.2         โมเด็ม ADSL ( โมเด็ม Hi – Speed )
ADSL Modem (High-Speed Internet)เป็นโมเด็มแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบะรรดา โดยเลือกใช่ย่านความถี่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์เน็ต (โมเด็มแบบ Dial-Up ในระหว่างใช้งานอินเทอร์เน็ตจะำม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติไปพร้อมๆกันได้) อีกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั่ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกับ 56k Dial-Up อีกด้วย ปัจจุบันเทคโนโยยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hing-Speed Internet) และโมเด็มของ ADSL นี้กำลังเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ความเร็วได้ตามต้องการจากผ๔้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น 256/128, 512/256 และ 1024/512 Kbps เป็นต้น โดยแต่ละความเร็วจะมีอัตราค่าบริการแต่กต่างกันไปสำหรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดด้วยระบบ ADSL ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 8192/1024 Kbps หรือก็คือ รับส่งข้อมูลขาลงจาก ISP (Download) ด้วยความเร็วสูงสุด 16 Mbps และส่งข้อมูลขาขึ้นไปหา ISP (Uplpad) ด้วยความเร็วสูงสุด 1 Mbps
2.3         Wireless Router Modem
1. เปิดเว็บบราวเซอร์แล้วพิมพ์192.168.1.1 แลว้ กด Enter ที่แป้นคีย์บอรด์ เพื่อเข้าสู้หน้าAdmin
2. จะมีdialog box แสดงขึ้นมาให้เรากรอก Username และ Password ให้กรอกข้อมลู ดังนี้
User name : admin
Pasword : admin
จากนั้นกดที่ปุ่ม OK
3. เมื่อเข้าสู้หน้าเว็บ Admin ไดแล้ว ให้ใช้เมาส์กดเลือกที่ Quick Star
4. ใช้เมาส์กดเลือกที่ RUN WIZARD
5. ใช้เมาส์กดเลือกที NEXT
6. ใช้เมาส์กดเลือก Time Zone ให้เป็น (GMT+07:00) Bangkok,Jakata,Hanoi แล้ว กด NEXT
7. กดเลือกที่ PPPoE / PPPoA ใชเมาส์กดเลือกที่ NEXT
8. ในหน้าPPPoE/PPPoA ให้ก้รอกข้อมลู 
9. ในหน้าWlan ใหตั้งค้า
10. ในหน้าQuick Start Complete ให้กดที่ปุ่ม NEXT
11. หลงัจากกดปุ่มNEXT จนปุ่ม เปลี่ยนเป็น คำว่า Close ก็ให้กดที่ปุ่ม Close เพื่อปิดิหน้าจอแลว้ รอประมาณ 1 นาทีจงึสามารถใช้งานอินเตอเต็ ได้ตามปรกติ
3.การกำหนดค่าตัวเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็ม 56 K
1.คลิก Start >> All Programs >> Accessories >> Communications >> New Connection Wizard
2. คลิก Next
3. ติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Connect to the Internetเสร็จแล้วคลิก Next
4. ติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Set up my connection manuallyเสร็จแล้วคลิก Next
5. ติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก
แถว Connect using a dial-up modem เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโมเด็ม 56K
แถว Connect using a broadband connection that requires a user name and password เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง DSL หรือเคเบิ้ลโมเด็ม ที่ต้องป้อน user name และ password ทุกครั้งที่เชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต
แถว Connect using a broadband connection that is always on เมื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง DSL หรือเคเบิ้ลโมเด็ม ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาเสร็จแล้วคลิก Next
6. ตั้งชื่ออะไรก็ได้ ที่ง่ายต่อการจดจำ พิมพ์ในช่อง ISP Name (ISP=Internet Service Provider=ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) ตัวอย่างเช่น ใช้อินเทอร์เน็ตขององค์การโทรศัพท์ พิมพ์ TOT หรือเป็นชื่ออื่นก็ได้ แต่ต้องเป็นอักษรภาษาอังกฤษเท่านั้นเสร็จแล้วคลิก Next
7. พิมพ์หมายเลขเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ ISP นั้น ในช่อง Phone number ตัวอย่างเช่น TOT พิมพ์ 1222เสร็จแล้วคลิกNext
8. พิมพ์ Username และ Password ที่ต้องใช้ผ่านในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของ ISP นั้น ตัวอย่างเช่น TOT พิมพ์U89$0y)9@totonline.net ในช่อง Username และพิมพ์ j4**9c+p ในช่อง Password กับที่ Confirm Passwordเสร็จแล้วคลิก Next
9. คลิก Finish เสร็จสิ้นการสร้าง New Connection Wizard
10. จากนั้น ต้องตั้งค่าการทำงานใน Internet Options ของ ISP นั้น
คลิก Start >> Control Panel >> Network and Internet Connections >> Internet Options >> Connections
จะเห็นชื่อ TOT ที่สร้างไว้ อยู่ในช่อง Dial-up and Virtual Private Network settings ให้คลิกชื่อ ISP ในช่องนั้น ที่ต้องการจะตั้งค่า ในที่นี้คลิก TOT
แล้วมาติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Always dial my default connection
เสร็จแล้วคลิกที่ Set Default
11. เมื่อเลือก ISP ไหนเป็น Default แล้ว ให้กลับไปติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Never dial a connection
การที่ต้องติ๊กทำเครื่องหมายจุดภายในวงกลมเล็ก แถว Never dial a connection มีประโยชน์มาก ป้องกันไม่ให้วินโดว์หมุนเบอร์ต่ออินเทอร์เน็ตเองอัตโนมัติ เวลาที่เน็ตหลุด หรือเน็ตครบเวลาตัด อันจะทำให้ค่าโทรศัพท์เพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์
12. จากนั้น คลิกที่ Settings
13. จะเห็น User name และ Password ที่ตั้งไว้ ข้อน่าสังเกตอีกอย่าง ช่องสี่เหลี่ยมเล็ก จะปล่อยว่างไว้ทั้งหมด (ในภาวะปรกติ)
ต่อไป คลิกที่ Properties
14. จะเห็น หมายเลขเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้หมุนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ในช่อง Phone number และสามารถลบทิ้ง แล้วเปลี่ยนเป็นเบอร์ใหม่ได้ ในกรณีที่ ISP นั้น มีหลายเบอร์ให้ใช้
จะต้องมีติ๊กทำเครื่องหมาย ถูก ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก แถว Show icon in notification area when connected เพราะถ้าไม่ได้ทำเครื่องหมายถูกไว้ จะไม่มีรูปโทรศัพท์คู่กะพริบ ตรงมุมขวาล่างจอต่อไป คลิกที่ Configure
15. ที่ maximum speed (bps) คลิกเลือกค่ามากสุดที่มี ในนี้ที่เห็น คือ 921600
ส่วนช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ติ๊กทำเครื่องหมายถูก
16. เมื่อเลือก maximum speed (bps) เสร็จแล้ว คลิก OK กลับออกมา คลิกที่ Alternates
17. เมื่อคลิก Alternates เข้ามา จะเห็นหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ของ ISP ในนี้ที่เห็น คือ 1222 และจะเห็นมีปุ่ม Add... กับปุ่มอื่นๆอีก โดยปุ่มAdd มีไว้คลิกเพิ่มหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ของ ISP เดียวกัน หรือจะเป็นของ ISP รายอื่นก็ได้
ที่ทำไว้ Add ใช้ได้หลายเบอร์ เพื่อเวลาที่เบอร์แรก หรือเบอร์ต้นหมุนไม่ผ่าน สายไม่ว่าง ก็จะหมุนเบอร์อันดับต่อๆมา วนกระทั่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
แต่แนะนำให้มีเพียงเบอร์เดียวในนี้ จะเหมาะสมกว่า เพื่อป้องกันค่าใช้โทรศัพท์ที่เพิ่มขึ้นโดยเปล่าประโยชน์
ช่องสี่เหลี่ยมเล็กทั้งหมดในนี้ ให้ปล่อยว่างไว้
เสร็จแล้วคลิก OK ออกมา
18. ต่อมาคลิกด้านบน ที่แท็ป options และตั้งค่าตามรูปที่เห็นข้างล่างต่อไปนี้
เสร็จแล้วคลิก OK
19. ต่อมาคลิกด้านบน ที่แท็ป Advanced ตรงนี้ ที่ไว้กำหนดการทำงานของ ไฟร์วอล(Firewall) หรือระบบป้องกันของวินโดว์เอง
ถ้าจะเปิดไฟร์วอลของวินโดว์ให้ทำงาน เพียงคลิกทำเครื่องหมาย ถูก ภายในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก แถว Protect my computer and network by limiting or preventing access to this computer from the Internet
แนะนำให้ ยกเลิก การใช้ไฟร์วอลของวินโดว์ จะทำให้การทำงานต่างๆมีเสถียรภาพดีขึ้นมาก แต่ต้องได้ติดตั้งซอฟแวร์ระบบป้องกันของตัวอื่นไว้แล้ว ได้แก่ Ad-Aware SE Professional, ZoneAlarm Pro เป็นต้น
20. เสร็จจากไฟร์วอล ออกมาที่ เห็นตามรูปข้างล่างนี้ จากนั้นคลิก Advanced
21. เมื่อคลิก Advanced (รูปบน) จะมาที่ Advanced Dial-Up ให้ตั้งค่าไว้ 1 ที่ Try to connect
22. เสร็จจาก Advanced Dial-Up (รูปบน) คลิก OK มาถึงรูปข้างล่างนี้ แล้วคลิก LAN Settings...
23. เมื่อคลิก LAN Settings... (รูปบน) จะมาที่ Local Area Network (LAN) Settings ที่ตำแหน่งนี้ ไว้สำหรับตั้ง proxy ของระบบ LANเท่านั้น
ปรกติ ในนี้จะปล่อยว่างไว้ทุกช่อง ดังรูปข้างล่างนี้ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
เสร็จแล้วคลิก OK ออกจากการตั้งค่า New Connection Wizard
24. แนะนำเพิ่มเติม เทคนิคการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โมเด็ม 56k
ในภาวะปรกติ ถ้าการเชื่อมต่อครั้งแรก ERROR ให้คลิก CANCEL แล้วกลับไปเริ่มต้นใหม่ อย่าคลิกให้เชื่อมต่อทันที
เมื่อกำลังเชื่อมต่อ และขณะที่มีเสียงความถี่สูงอยู่นั้น ห้ามคลิกเมาส์เล่น หรือคลิกอะไรก็ตาม อย่ามือซน ควรปล่อยให้เมาส์อยู่นิ่งๆ กระทั่งการเชื่อมต่อสำเร็จ เห็นจอคู่เล็กกะพริบอยู่ที่มุมขวาล่างจอ
4.การกำหนดค่าตัวเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
        1. เปิดหน้าต่างเว็บเบราเซอร์อย่าง Internet Explorer หรือ Mozilla Firefox แล้วใส่ค่า IP Address ของตัวโมเด็มเข้าไป ก็จะได้หน้าต่างดังรูป
IP Address ของโมเด็มบางยี่ห้อจะไม่เหมือนกัน อาจจะเป็น 192.168.1.1 ตรงนี้เราสามารถเปิดดูจากคู่มือได้ครับ แล้วกรอกชื่อUsername/Password สำหรับล็อกอิน
ในที่นี้ผมขอเอารูปตัวอย่างของโมเด็มที่ใช้อยู่มาทำภาพประกอบก็แล้วกัน การตั้งค่าต่อไปนี้กับโมเด็มยี่ห้อ/รุ่นอื่นๆไม่แตกต่างกันมาก
        2. เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบก็จะพบกับหน้าจอหลัก แล้วเลือก Setup Wizard สำหรับการตั้งค่าอย่างง่าย
        3. คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่างๆ
        4. เลือกเขตเวลาให้ตรงกับประเทศที่อยู่อาศัย
        5. เลือกประเทศที่อยู่อาศัยและประเภทของการติดต่อสื่อสาร
        6. ตรวจสอบดูว่าค่าหลักๆอย่างค่า VPI, VCI และ Protocol ของท่านกับ ISP ค่าใดตรงกับ ISP ที่ท่านใช้บริการอยู่ก็ให้เอามาใส่ให้ตรงกับการปรับแต่งของโมเด็มครับ แล้วใส่ชื่อ Username และ Password ให้ตรงกับที่ทาง ISP ให้มา
        7. ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังจากนี้ ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตครั้งต่อไป ก็เพียงแค่เปิดการทำงานของโมเด็มและเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ทันที


5.การกำหนดค่าตัวเชื่อมต่อผ่าน Wireless Router Modem
1.แกะกล่องกันเลย ไม่อธิบายนะครับว่าประกอบยังไงบ้างเพราะมันมีแค่สาย โทรศัพท์ สายแลน และเสาสัญญาณ ไวเลสเท่านั้น (ดูตามคู่มือ) จัดการติดตั้งให้เรียบร้อยแล้วเสียบสาย LAN เข้าที่ router กับเครื่องคอมของคุณ
2.จากนันเปิด web browser ขึ้นมาพิมพ์ 192.168.1.1  แล้วกด enter ใส่ Username และ password ว่า admin
3.เตรียมรายละเอียดการติดตั้งที่ไปขอมาจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ให้เรียบร้อยในภาพตัวอย่างเป็นของ TOT ครับ
4.ที่ Quick start เลยครับง่ายสุด เค้ามี wizard ให้เราทำตามอย่างง่ายดาย
5.จะมีหน้าต่าง Wizard เล็ก ๆ ขึ้นมาบอกขั้นตอนว่ามีอะไรบ้าง
6.ตั้งค่า Timezone ของเมืองไทยคือ +เลือกแล้วกด next เลย
7.เลิก ISP connection type สำหรับเมืองไทยเป็นค่านี้หมดครับ PPPoE/PPoA
8.จากนั้นใส่ User name และpassword ที่ได้มาจากผู้ให้บริการและใส่ค่า VPI,VCI ตามที่ผู้ให้บริการกำหนดมาครับ
***ค่า VPI/VCI ของผู้ให้บริการเจ้าต่าง ๆ  ที่มา www.adslthailand.com
9.ขั้นตอนนี้เป็นการตั้งค่า wireless LAN ครับใส่ค่า SSD (Workgroup ของ WLAN ถ้าคุณตั้งชื่อเดียวกับ Workgroup ของ LAN ธรรมดาจะทำให้มันสามารถมองเห็นกันได้ครับ)
จากนั้นก็ให้ตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับการเข้าระบบ WLAN มีให้เลือกทั้ง 64 และ 128 bit ก็เลือกแล้วก็ไปใส่key ตามจำนวน bit ที่เลือกไว้ครับ
10.เรียบร้อยแล้ว กด next และ close รอสักพักเพื่อให้ router reboot
11. reboot เสร็จแล้วเข้ามาดูหัวข้อ Status ถ้าเซตถูกสถานะมันจะเป็น UP แสดงว่าเราสามารถใช้ Internet ได้แล้ว แหม ง่ายกว่านี้มีอกีไหม






















วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2

กฎหมายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1.กฏหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                    ตอบ  :  กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี National Information Technology Committee : NITC  เป็นผู้ควบคุมดูแล ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหายเมทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่

1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
ที่มา: http://laddakaraoom.blogspot.com/
2.ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์    
                    ตอบ  :  การกระทำการใดๆที่มีกฎหมายให้รับรองลิขสิทธิ์ ถ้าเป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือสิ้นอายุการควบคุมตามกฎหมายแล้ว การกระทำต่องานนั้นย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่ได้ไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมี

                    1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์  มีดังนี้ คือ
                    1 ) ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างที่มีลักษณะข่าวสาร ซึ่งไม่ใช่งานวรรณคดีหรือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ
                          2 ) รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
                          3 ) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
                          4 ) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของราชการ
                          5 ) คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม 1) – 4 ) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

                          2. การกระทำที่ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำกับงานอันมีลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีสิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการกระทำต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้

                          1 ) กระทำการเพื่อประโยชน์ในการศึกษามิใช่หากำไร
                          2 ) กระทำการเพื่อใช้งานส่วนตัว
                          3 ) กระทำการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
                          4 ) กระทำการโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น คัดลอกเลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ที่มา: http://laddakaraoom.blogspot.com/
3.ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                    ตอบ  :  ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                    1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ การใช้งานระบบเครือขายผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน รวมทั้งให้ผู้ใช้งานคำนึงถึงความสำคัญของข้อมูลสามารถป้องกันข้อมูลเบื้องต้นได้ วิธีการป้องกันข้อมูลในขั้นต้นที่พนักงานทุกคนควรทราบได้แก่
                        1 ) การเก็บรหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ผู้อื่นทราบ หรือจดไว้ในที่เปิดเผย
                        2 ) ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องที่ตนใช้ประจำ ตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆการใช้รหัสผ่านในการทำงาน
                        3 ) ขยันเปลี่ยนรหัสผ่านของตนเองบ่อยๆเพื่อป้องกันผู้อื่นจดจำรหัสผ่านในขณะที่พิมพ์รหัส
                        4 ) การสังเกตอาการแปลกๆที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นสัญญาณของไวรัส เช่น การทำงานช้าลงของเครื่องคอมพิวเตอร์ การมีข้อความแปลกๆเกิดขึ้น การทำงานไม่เป็นปกติ
                        5 ) ให้ความรู้เกี่ยวกับการกู้ข้อมูลคืน หากข้อมูลมีความเสียหายเกิดขึ้น
                        6 ) มีการปรับปรุงโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เช่นโปรแกรมตรวจ
ไวรัส โปรแกรมตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ เป็นต้น
                      2. การรักษาควาปลอดภัยของผู้ดูแลระบบผู้ดูแลระบบควรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นบุคคลที่สำคัญในการป้องกันความปลอดภัย ข้อควรระวังเบื้องต้นของผู้ดูแลระบบ ได้แก่
                            1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของผู้ใช้ระบบ เพื่อที่จะกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้งานได้
                            2. ไม่สมควนให้มีการอนุญาตผู้ใช้มากเกินไปอาจจะเป็นเหตุของเจาะระบบได้
                            3. การยกเลิกสิทธิ์ของผู้เข้าใช้ ควรทำการลบล้างสิทธิ์ออกจากโปรแกรมตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นขโมยสิทธิ์เข้าใช้ระบบ
                            3. การกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้ระบบการกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้งานระบบ เราสามารถกำหนดสิทธิ์ของบุคคลในแต่ละระดับเพื่อเข้าใช้งานระบบ โดยมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานดังนี้
                            1 ) รหัสผ่าน ( Password ) หมายถึง การกำหนดรหัสผ่านอาจจะอยู่ในรูปตัวเลขหรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ที่ต้องพิมพ์เพื่อให้ระบบตรวจสอบว่าเหมือนกับค่าที่เคยตั้งไว้หรือไม่ว่า
                            - ควรมีจำนวนหลักของข้อความไม่ต่ำกว่า 8 ตัว หากโปรแกรมหรือระบบนั้นสามารถรองรับได้
                            - ควรมีทั้งตัวอักษรและตัวเลข
                            - ไม่ควรเป็นคำ หรือข้อความใดข้อความหนึ่งหรือชื่อคน สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของที่ใกล้ตัว ควรเป็นข้อความที่ไม่มีความหมาย
                            - ไม่ควรใช้ฟังก์ชันช่วยจำ User name และ Password ของเว็บไซต์หรือโปรแกรมใดๆเพราะอาจเป็นสาเหตุให้ถูกขโมยได้ง่าย
                            2 ) วัตถุในการตรวจสอบ ( Possessed Objects ) คือ สิ่งของที่ผู้ใช้สามารถพกพาติดตัวไปเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เช่น บัตรผ่าน อาจใช้ร่วมกับรหัสผ่านได้
                            3 ) การตรวจสอบทางชีวภาพ ( Biometric Device ) คือ การตรวจสอบลักษณะทางชีวภาพว่าตรงกับลักษณะทางชีวภาพที่บันทึกไว้หรือไม่ เช่นม่านตา เป็นต้น
                            4. การตรวจสอบการเข้าใช้ด้วยระบบฮาร์แวร์โดยป้องกันการเข้ามาในระบบผ่านช่องหรือ Port ต่างๆ ได้แก่ Fire Wall ซึ่งก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบหรือปิดกั้นกันการเชื่อมต่อของข้อมูลจากภายนอกเครือข่ายกับภายในเครือข่าย ซึ่งจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น ซึ่งในการรักษาความปลอดภัยสูง Firewall มี 3 ชนิดคือ
                            1 ) Screening Routers คือ อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากที่ใด และได้รับอนุญาตอย่างถูก
ต้องหรือไม่ การตรวจสอบนั้นสามารถทำได้โดยการดู Addressที่มีมากับข้อมูล
2 ) Proxy Gateway คือ ตรวจสอบข้อมูลทั้ง Address และตัวข้อมูล ( Data ) ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงกว่า Screening Routers โดยจะอนุญาตให้ข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่ได้รับจากระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
                            3 ) Guard คือ Proxy Firewall ซึ่งมีความสามารถในการักษาความปลอดภัยสูง ทำหน้าที่วิเคราะห์ Protocol ที่ผ่านเข้ามาหรือออกจากเครือข่าย แล้วสั่งงานตามที่ Protocol ตัวนั้นต้องการ
                            5. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสโปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นตัวค้นหาและกำจัดไวรัสออกจากหน่วยความจำและอุปกรณ์เก็บข้อมูล การทำงานของโปรแกรมป้องกันไวรัสคือ
                            1 ) การค้นหาสัญญาณของไวรัสเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ ซึ่งผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะมีไวรัสใหม่เกิดขึ้นทุกวัน โปรแกรมป้องกันไวรัสประเภทนี้จะค้นหาไวรัสประเภท Polymorphic virus ได้ยาก เพราะไวรัสประเภทนี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบของตนเองไปตามโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูล
                            2 ) การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูล โปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของแฟ้ม เช่น ขนาดของแฟ้มข้อมูล วันที่แฟ้มข้อมูลถูกสร้างหรือแก้ไข จากนั้นจะใช้ข้อมูลนี้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูลในการเปิดใช้ครั้งต่อไป หากมีการเปลี่ยนแปลงแจหมายถึงสัญญาณไวรัส แต่จะมีไวรัสบางชนิดที่เรียกว่า Stealth virus สามารถที่จะรายงานขนาดและวันเวลาเดิมของไฟล์เพื่อหลบเลี่ยงการถูกตรวจในจับได้
                            3 ) การแยกแฟ้มข้อมูลที่ต้องสงสัยไว้ต่างหาก โปรแกรมค้นหาไวรัสบางประเภทสามารถแยกแฟ้มข้อมูลที่สงสัยว่าติดไวรัสไวต่างหากเพื่อป้องกันการแพร่ของไวรัสได้ เมื่อผู้ใช้ทำการตรวจสอบหรือกำจัดไวรัสออกไปแล้วจะสามารถใช้แฟ้มข้อมูลเหล่านั้นได้อีกครั้ง
4 ) การสร้าง Rescue Disk หรือแผ่นดิสก์ที่สะอาดปลอดภัย ในการทำงานควรมีการสร้างแผ่นดิสก์ที่ปลอดภัยจากไวรัสประเภท Boot Sector virus และสามารถค้นหา ซ่อมแซม แฟ้มข้อมูลที่เสียหายจากไวรัสได้
                            6. การตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครือข่ายเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบต่างๆเช่น
1 Kerboros เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องในการเชื่อมต่อกันของระบบเครือข่าย โดยการตรวจสอบความถูกต้องระหว่าง Processor ที่ทำการติดต่อสื่อสารระหว่างหันโดยมีระบบบัตรผ่าน ซึ่งมีอายุเป็นกำหนดเวลาที่แน่นอน การส่งข้อมูลจะส่งในรูปแบบของการเข้ารหัส
                            2. DCE เป็นระบบที่ใช้การพัฒนามาจาก Kerboros จึงง่ายต่อการบริหารและจัดการระบบมากกว่า มีการใช้ระบบบัตรผ่านและการเข้ารหัสข้อมูลเช่นเดียวกัน
                            ที่มา: http://laddakaraoom.blogspot.com/


4.              รูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์   
                  ตอบ  :  รูปแบบของการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไป มีดังนี้
                                1. การลักลอบเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งกลุ่มคนที่ลักลอบเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ
                                ·       แฮกเกอร์ (Hacker) คือกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถและต้องการทดสอบความสามารถของตนเอง โดยไม่มีประสงค์ร้าย
                                ·       แครกเกอร์ (Cracker) คือกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถคล้ายกับ Hacker แต่กลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่ประสงค์จะทำลายและสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
                                ·       สคริปต์คิดดี้ (Script Kiddy) คือกลุ่มเด็กหรือนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ โดยกลุ่มนี้จะมีความต้องการอยากทดลอง อยากรู้อยากเห็น โดยหลังจะก่อกวนผู้อื่น
                                2. การขโมยและทำลายอุปกรณ์ (Hardware Theft and Vandalism)
                                3.   การขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software Theft)
                                4.   การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Code)
                                        เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ หนอนอินเตอร์เน็ต ม้าโทรจัน
                                5.   การก่อกวนระบบด้วยสปายแวร์ (Spyware) สร้างความรำคาญ
                                6.   การก่อกวนระบบด้วยสแปมเมล์ (Spam Mail) เมล์โฆษณา
                                7.   การหลอกลวงเหยื่อเพื่อล้วงเอาข้อมูลส่วนตัว (Phishing)
ที่มา: http://laddakaraoom.blogspot.com/
5.              กลุ่มอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
                      ตอบ  :  1. พวกมือใหม่ ( Novices ) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่
ผู้ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย คือ มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำความผิด
                      2. นักเจาะข้อมูล ( Hacker ) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยี เข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
                      3. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่น พวกที่พยามสั่งของที่ทำด้วยเทคโนโลยี เช่นบัตรเครดิต , บัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น
                      4. อาชญากรมืออาชีพ คือ ผู้ที่ดำรงชีพด้วยการกระทำความผิด เช่น พวกที่ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงินหรือการจารกรรมข้อมูลไปจำหน่าย เป็นต้น
ที่มา  http://karaoom.blogspot.com/2008/11/blog-post_1033.html